การค้าระหว่างประเทศ
วันพฤหัสบดีที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557
Application for Irrevocable Documentary Credit
สิ่งที่ต้องใช้ในการเปิด L/C กับธนาคาร
1. แบบฟอร์มการขอเปิด แอลซี ของธนาคารกรุงไทย ครับ
2. หลักทรัพย์ของผู้ เปิด L/C
3. เอกสารประกอบการขอเปิด L/C เช่น สัญญาขาย (Sale Contract),
คำสั่งซื้อ (Purchase Order), ใบเสนอราคา (Proforma Invoice), หรือเอกสารยืนยันคำสั่งซื้อ (Order Confirmation) แล้วแต่กรณี
4. ค่าธรรมเนียมที่คุณจะต้องเสียให้ธนาคาร
รายละเอียดเพิ่มเติมให้ดูที่ Link
วันพุธที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557
Bill of Lading
UCP
L/C
Bill of Exchange
Bill of Lading รายละเอียดเพิ่มเติม
Bill of Lading - เอกสารการขนส่งสินค้าทางทะเล
Bill of Lading - เอกสารการขนส่งสินค้าทางทะเล
ที่มีสาระสำคัญอยู่ 3 ประการ คือ 1. เป็นใบรับสินค้า (Receipt) ที่ผู้รับขนส่ง (Carrier) ออกให้กับผู้ส่งสินค้า (Shipper) เพื่อเป็นหลักฐานว่าได้รับสินค้าเพื่อที่จะทำการส่ง 2. เป็นสัญญา (Contract) ที่ผู้รับขนส่งออกให้เพื่อแสดงว่ารับที่จะขนส่งสินค้า จากท่าเรือต้นทาง (Port of Loading) ไปยังท่าเรือปลายทาง(Port of Discharge) โดยมีภาระความรับผิดชอบตามข้อตกลงและเงื่อนไข (Terms and Conditions of Carriage) ที่ปรากฎอยู่ด้านหลังของ B/L อย่าลืมนะครับ ถ้าคุณไม่ได้ปฏิบัติตามสิ่งที่คุณให้เป็นลายลักษณ์อักษรกับ บริษัท เรือ เมื่อมีปัญหาเกิดขึ้นอันมาจากสิ่งที่คุณ (Shipper) ได้แจ้งไม่ตรงกับเอกสารแล้ว คุณ (Shipper)ต้องรับผิดชอบต่อความเสียหายที่เกิดขึ้น ระวังให้ดีนะจ๊ะ ท่านเจ้าของกิจการและลูกจ้างที่ทำหน้ารับผิดชอบตำแหน่งนี้ 3. เป็นเอกสารแสดงกรรมสิทธิ์ในตัวสินค้าที่ขนส่ง (Document of Title) ประเภทที่ผู้ทรงสิทธิ์ (bona fide Holder) สามารถโอนสิทธิ์เปลี่ยนมือได้ (Negotiable/Transfer) เช่น ตัวอย่างที่ 1. B/L ระบุ Consignee : To the order of shipper และ Shipper ทำการสลักหลัง B/L (Blank Endorse) ในลักษณะนี้ถือว่าเป็นการโอนกรรมสิทธิ์ลอย ดังนั้น ผู้ที่ถือ B/L สามารถนำไปยื่นขอรับสินค้ากับผู้รับขนส่งปลายทางได้ หรือ ตัวอย่างที่ 2. B/L ระบุ ตรงช่อง Consignee : To the order of Company Z นั้นหมายความว่า Company Z สามารถถือ B/L นำไปยื่นขอรับสินค้า กับผู้รับขนส่งที่อยู่ปลายทาง หรือ Company Z จะโอนกรรมสิทธิ์ของ B/L ไปให้กับผู้อื่นได้โดยการสลักหลัง B/L ดังนั้นผู้รับโอนสามารถนำ B/L ดังกล่าวไปขอรับสินค้ากับผู้รับขนส่งที่อยู่ปลายทางได้เช่นเดียวกัน Non Negotiable Sea Way Bill หมายถึง เอกสารการขนส่งสินค้าทางทะเล ประเภทที่ไม่สามารถโอนสิทธิ์เปลี่ยนมือได้ (Non-Negotiable) |
เป็นใบรับสินค้า และ เป็นสัญญา เช่นเดียวกับ Bill of Lading แต่มีสาระสำคัญ
ที่แตกต่างไปจาก Bill of Lading ทั่วๆไป กล่าวคือ เอกสารการขนส่งประเภทนี้
จะระบุเอาไว้ว่าเป็นเอกสารที่ไม่สามารถโอนสิทธิ์เปลี่ยนมือได้ (Non - Negotiable)
หรือ เป็น Bill of Lading ประเภทที่ระบุชื่อผู้ถือกรรมสิทธิ์เอาไว้เลย
(Consignee Name) เช่น B/L ที่ระบุ Consignee : To Company Z
(ไม่มีคำว่า Order) นั้นหมายความว่า Company Z. ไม่สามารถที่จะโอนกรรมสิทธิ์ B/L
ไปให้กับผู้อื่นได้ โดยผู้รับขนส่งที่อยู่ปลายทางจะส่งมอบสินค้าให้กับผู้รับสินค้าตามชื่อ
ที่ระบุไว้เท่านั้น (Consignee Name) ซึ่งตามตัวอย่างนี้ก็คือ Company Z. นั้นเอง
อ่าน L/C ให้ละเอียดนะครับ อ่านแล้วอ่านอีก มีเวลาว่างก็หยิบมันขึ้นมาอ่าน
Bill Of Exchange
UCP
L/C
Bill of Exchange
Bill of Lading รายละเอียดเพิ่มเติม
Bill of Exchange
A Draft or Bill of Exchange is a negotiable instrument that is payable to the seller and drawn on the issuing bank and/or the buyer. This document is prepared by the seller, but is analogous to a check written from the buyer to the seller. Drafts can be either "sight drafts" where the bank pays the full amount of the draft upon the seller's presentation, or "time drafts" where the bank's obligation at the time of presentation is merely to accept the draft for payment at a later date (e.g. 90 days after the seller's presentation). Time drafts provide the buyer with short-term financing. Often, banks will purchase their accepted time drafts at a discounted rate. |
ตัวละครที่ต้องรู้ครับ |
1.Drawer(ผู้สั่งจ่าย)
- The signature of the person who issues the bills(drawer). |
2.Drawee(ผู้จ่ายเงิน) accepts the bill by signing on the Bill of exchange
- The name of the per who is to pay(drawee) |
3. Payee(ผู้รับเงิน) |
4.“At sight” means that the draft is paid upon receipt of the documents which are found to be conforming. The terms, which specify a number of days after sight or after the B/L date,are commonly called “usance”,indicating that the issuing bank is obligated to pay the beneficiary (exporter) at some specific future date. For usance drafts,the obligation to pay begins when the drawee bank “accepts” the draft and a banker's acceptance are created. |
ให้ดูที่ Draft นะครับ ตำแหน่งในเอกสารของ 1.Drawer คือ UVWExports ตำแหน่งในเอกสารของ 2. Drawee คือ The Moon Bank ตำแหน่งในเอกสารของ3. Payee(ผู้รับเงิน) คือ คนคนเดียวกับ 1.Drawer Draft ชุดนี้เป็น "AT SIGHT Pay to the order of 1.Drawer คือ UVWExports ระวัง Drawn underกับDrawn on นะครับ ถ้าเป็น Drawn on จะเป็น Drawn on The Moon Bank ยังมี“Time draft” ที่จะต้องรู้ด้วยครับ |
European credits usually do not call for drafts because a stamp tax on drafts in Europe is common. Usance credits in Europe usually take the form of a deferred payment credit with no draft required. A draft cannot have any corrections, deletions or erasures. If the draft does, then the examined document bank will note a discrepancy. |
ควรดูหมายเหตุ เรื่อง Bill of Exchange ในแถบยุโรปด้วยครับ อ่านแล้ว สามสี่บรรทัดข้างบน เข้าใจอย่างไรครับ โดยเฉพาะเรื่อง Bill of Exchange ในยุโรปที่กล่าวมาก่อนหน้านี้ครับ? |
วันอังคารที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557
Letter of Credit
UCP L/C
Bill of Exchange
Bill of Lading รายละเอียดเพิ่มเติม
Letter of Credit หรือที่นิยมเรียกกันย่อๆ ว่า L/C เป็นการชำระค่าสินค้าผ่านธนาคารวิธีหนึ่ง จริง ๆ แล้วการชำระเงินผู้ขายมีหลายวิธี
L/C เป็นวิธีที่ได้รับความนิยมมากที่สุด เพราะเป็นวิธีเดียวที่
มีหลักประกันพอที่จะเชื่อได้ว่า ผู้ขายสินค้าจะได้รับเงินค่าสินค้าเมื่อได้ส่งมอบสินค้าลงเรือ และผู้ซื้อสินค้าจะได้รับสินค้าเมื่อจ่ายเงินค่าสินค้า
หรือผู้นำเข้า ในกรณีที่ผู้นำเข้าสั่งซื้อสินค้า วัตถุดิบ หรือเครื่องจักรจากต่างประเทศโดยเลือกใช้วิธีการชำระเงินแบบ L/C โดยผู้นำเข้า
สามารถติดต่อขอใช้บริการเปิด L/C กับธนาคารได้ ซึ่งเมื่อธนาคารเปิด L/C ไปแล้ว ธนาคารจะมีภาระผูกพันที่จะต้องชำระเงินทันที
L/C at Sight ต้องจำนะครับ "L/C at Sight" เวลาได้รับ L/C ต้องหาให้เจอนะครับคำนี้ครับ
ประเภทของ L/C (L/C Terms)
ประเภทของ L/C ที่ใช้ในการซื้อขายสินค้าระหว่างประเทศมี 2 ประเภท ได้แก่
L/C ที่เพิกถอนได้ REVOCABLE LETTER OF CREDIT
L/C ประเภทนี้เมื่อธนาคารของผู้ซื้อได้เปิด L/C ออกไปให้แก่ผู้ขายในต่างประเทศแล้ว ผู้ซื้อหรือธนาคารจะแจ้งยกเลิกเสียเมื่อไรก็ได้ โดยมิต้องได้
รับความยินยอมจากผู้ขายแต่ประการใด ดังนั้นในทางปฏิบัติ L/C ชนิดนี้จึงไม่นิยมนำมาใช้ในการซื้อขายสินค้าระหว่างประเทศ
L/C ที่เพิกถอนไม่ได้ IRREVOCABLE LETTER OF CREDIT
L/C ประเภทนี้เมื่อธนาคารของผู้ซื้อได้เปิด L/C ออกไปแล้ว ทั้งธนาคารและผู้ซื้อจะทำการยกเลิกไม่ได้ รวมทั้งไม่สามารถแก้ไขหรือเปลี่ยนแปลง
ข้อความหรือเงื่อนไขต่างๆ ได้ L/C ประเภทนี้จึงเป็นประเภทที่ใช้งานได้จริงในการค้าระหว่างประเทศ L/C ที่มิได้ระบุว่าเป็น L/C
ที่เพิกถอนได้ในทางปฏิบัติจะถือว่าเป็น L/C ที่เพิกถอนไม่ได้
L/C อาจมีการ Confirm ว่า ตัว L/C จะมีการชำระเงินแน่นอน ซึ่งการ Add Confirm ทำโดย Bank ที่ สาม ซึ่งรับรองว่า L/C มีการชำระเงินแน่นอน
ชนืดของ L/C1. Fixed L/C คือ L/C ที่เปิดขึ้นมาแล้ว มีการกำหนดมูลค่าที่แน่นอนตายตัว ใช้ได้เพียงครั้งเดียวก็หมดอายุไม่สามารถนำไปใช้ได้อีก มักมีอายุน้อยกว่า 6 เดือน ซึ่งหากบริษัทใดได้รับ L/C
ประเภทนี้ต้องส่งสินค้าออก และเตรียมเอกสารไปขึ้นเงิน และเมื่อขึ้นเงินเรียบร้อยแล้ว L/Cนั้นก็หมดผลบังคับไม่สามารถนำไปใช้ได้อีก
2. Revolveing L/C คือ L/C หมุนเวียน ซึ่งสามารถใช้ได้หลายครั้ง จนกว่าจะหมดอายุโดยส่วนมากมักมีอายุมากกว่า 3 เดือน โดยหากบริษัทใดได้รับ L/Cประเภทนี้ ผู้ส่งออกสินค้าในล๊อตแรกแล้ว
ก็รวบรวมเอกสารไปขึ้นเงินกับธนาคาร และเมื่อขึ้นเงินแล้ว L/C ก็ยังสามารถใช้ได้อีก หากยังไม่หมดอายุโดนสามารถนำ L/C ฉบับเดิมมาทำการส่งออก และขึ้นเงินไปได้เรื่อยๆ จนกว่า L/C จะหมดอายุ
ซึ่งเหมาะสำหรับผู้นำเข้าวัตถุดิบเป็นประจำสม่ำเสมอ เพื่อเป็นการประหยัดเวลาและค่าใช้จ่ายที่ต้องจ่ายให้ธนาคาร แต่การส่งออกแต่ละครั้งต้องไม่กินจำนวนเงินที่ระบุใน L/C หากเงื่อนไขใน
L/Cอนุญาตให้ส่งสินค้าเป็นบางส่วนได้ แต่ผู้ซื้อควรกำหนดให้ผู้ขายว่าจะส่งออกได้กี่ครั้งต่อเดือนเพื่อป้องกันความเสียหายที่เกิดขึ้น เนื่องจากผู้ซื้อต้องเป็นผู้รับผิดชอบ
*** L/C อย่างนี้มีข้อดีก็คือรู้ Procedure แล้ว ไม่ต้อง เริ่มต้นกับ L/C ฉบับใหมครับ
3. Back to back L/C คือ L/C ที่เปิดขึ้นโดยมี L/C ฉบับแรกค้ำประกันอยู่ ซึ่ง L/C ประเภทนี้จะสังเกตได้จาก L/C เปิดมาจากประเทศหนึ่ง แต่สินค้าจะให้ส่งไปยังอีกประเทศหนึ่ง เช่น หากบริษัท ก.
(ประเทศไทย) ได้รับ L/Cสั่งซื้อสินค้าจากบริษัท ข. (ประเทศสหรัฐอเมริกา) ให้ผลิตสินค้าชนิดหนึ่ง แต่เนื่องจากสินค้าดังกล่าวนั้น บริษัท ก. ไม่สามารถผลิตได้ทัน จึงต้องไปสั่งซื้อสินค้าชนิดนี้จากอีกบริษัทหนึ่งที่เป็นพันธมิตรกัน
(ประเทศจีน) จึงนำ L/C ที่ได้รับจากบริษัท ข. ไปวางค้ำประกันสำหรับการเปิด L/C ฉบับที่ 2 นี้เพื่อสั่งซื้อสินค้า โดยบริษัท ก. ก็จะเลื่อนกำหนดเงื่อนไขใน L/C ใหม่ โดยให้บริษัทพันธมิตรในประเทศจีนนั้นส่งสินค้าตรง
ไปให้บริษัท ข. ในสหรัฐอเมริกาเลย เป็นต้น
***อันนี้พวกที่ผันตัวเป็น เอเย่นต์ มักทำกันครับ เช่น Garment ในประเทศไทย รับ L/C จากสเปน แล้วเอา เอา L/C ที่ได้รับไปเปิด L/C สั่งของที่เวียตนาม,จีน,ปากีสถาน
เวลา combine ตั๋วก็ combine ตั๋วที่ประเทศไทย ณ ครับ
แต่พวก เวียตนาม,จีน,ปากีสถาน ก็จะสามารถสืบเสาะไปยิงตรงกับผู้ซื้อที่เสปน ฝรั่งไม่โง่หรอกครับ เขาก้ยังคงซื้อกับคนที่เขาเชื่อ เครดิตอยู่ดีครับ
4. Red clause L/C คือ L/C ที่มีการกำหนดเงื่อนไข ให้ผู้รับผลประโยชน์/ผู้ส่งออก สามารถขึ้นเงินบางส่วนได้ก่อนการส่งออก เนื่องจากผู้ขายบางรายมีปัญหาเรื่องเงินทุนหมุนเวียนในกระบวนการผลิต
จึงต้องอนุมัติให้ผู้ขายสามารถขึ้นเงินได้บางส่วน และจะสามารถขึ้นเงินในส่วนที่เหลือได้ก็ต่อเมื่อมีการส่งสินค้าออกจนครบถ้วนตามเงื่อนไข L/C แล้ว
***อันนี้อย่าไปคิดว่าขาดเงินทุนหมุนเวียนครับ เวลาเซ็นต์สัญญานี่ เราลงไปในสัญญา เลยครับ ว่าเมื่อเรารับ L/C เราผู้ซื้อขอเบิกเงินล่วงหน้าเลยครับสัก 30% ที่เหลือก็ Against shipment
ทำได้ไม่ผิด UCP ครับ
5. Standby L/C คือ L/C ค้ำประกันสัญญาระหว่างคู่กรณีที่ไม่ใช่สัญชาติไทย ซึ่งการใช้ L/C ลักษณะนี้จะไม่มีการส่งมอบสินค้าซึ่งเป็นการใช้งานเพื่อเป็นการค้ำประกันให้คู่สัญญาปฏิบัติตามเงื่อนไขที่ได้ตกลงกันไว้
โดยหากฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งผิดสัญญา ผู้เสียหายก็จะเรียกร้องจากธนาคารผู้เปิด L/C ให้ขดใช้ หรือชำระเงินตามที่ L/C ค้ำประกันไว้ได้
6. Restrict L/C คือ L/C ที่กำหนดให้ผู้ส่งออกต้องขายตั๋วให้กับธนาคารที่กำหนดเท่านั้น ซึ่งหากผู้ส่งออกไปขายตั๋วให้ธนาคารอื่นจะต้องเสียค่าธรรมเนียมเพื่มเติม
**** เพราะฉนั้นเวลา เราตกลงกับลูกค้าต่างประเทศ(ผู้ซื้อ) เราต้องระบุลงไปในเอกสารสัญญาซื้อขายเลยว่า L/C ต้องเป็นแบบ Non Restrict.
ไม่เช่นนั้นเสียค่าธรรมเนียมให้ธนาคาร เสียเวลาทางเดินของเอกสารเพราะเจ้าหน้าที่ธนาคาร
ที่ทำการ nego ตั๋ว เขาต้องตรวจเอกสาร
ขอทำความเข้าใจกับบทบาทของธนาคารกับผู้รับผลประโยชน์หน่อยครับ ต้องจำครับ
Applicant - เราเรียกผู้ขอเปิด L/C กับ ธนาคารว่า Applicant
Beneficiary - คือผู้ที่รับผลประโยชน์ ที่เรียกเก็บใน L/C เป็นบุคคลที่จะได้รับการชำระเงิน
จากธนาคารที่เปิด L/C
อาจเรียกชื่อ ได้ว่า Seller, Shipper, Exporter
Issuing Bank - ธนาคารที่ได้รับการขอให้เปิด L/C จากผู้ซื้อและได้ทำการเปิด L/C
ไปยังธนาคารของผู้ขายในต่างประเทศ
Advising Bank คือธนาคารผู้แจ้ง หรือ ส่ง L/C ไปให้ผู้ขาย หรือ แจ้งให้ผู้รับประโยชน์ (ผู้ส่งออก) ทราบถึงมีการเปิด L/C
ของผู้ซื้อ Negotiating Bank คือธนาคารผู้รับซื้อตั๋ว หมายถึง ธนาคารผู้ตกลงรับซื้อตั๋วและเอกสารเพื่อการชำระเงิน
Restricted Bank หมายถึง ธนาคารสที่ผู้เปิด L/C ระบุเจาะจงให้ผู้รับประโยชน์รับเงินจากธนาคารดังกล่าวโดยเฉพาะ
โดยที่ผู้รับผลประโยชน์อาจมิได้เป็นลูกค้าของธนาคารนั้นมาก่อนก็ได้
Paying Bank/ Reimbursing Bank/ Accepting Bank หมายถึง ธนาคารที่ L/C ระบุให้เป็นผู้จ่าย
เงินตามตั๋ว หรือเป็นผู้รับรองตั๋วให้แก่ผู้รับผลประโยชน์ โดยที่ธนาคารผู้เปิด L/C จะมีหนังสือให้สิทธิ์ในการเรียกเบิกเงินคืน
( Authorization to Reimburse )แก่ธนาคารนั้นไว้ล่วงหน้า
Confirming Bank หมายถึง ธนาคารผู้เพิ่มการยืนยันว่า จะรับรองผูกพันชำระเงินตาม L/C ฉบับดังกล่าว หากธนาคาร
ผู้เปิด L/C ไม่สามารถชำระเงินตาม L/C นั้น ซึ่งผู้ขายยื่นเอกสารได้ครบถ้วน ถูกต้อง ตามข้อตกลงและเงื่อนไขที่ระบุใน L/C
อันนี้มีค่าธรรมเนียมครับ ใครจะเป็นผู้จ่ายตกลงกันให้ดีนะครับ
ข้อควรระวังในการเปิด L/C
ในการเปิด L/C ไปซื้อสินค้าจากผู้ขายในต่างประเทศ ผู้ซื้อควรปฏิบัติดังนี้
ตรวจสอบความน่าเชื่อถือของผู้ขายให้แน่ชัดเสียก่อน ซึ่งอาจกระทำได้โดยการไปเยี่ยมโรงงานของผู้ขายหรือให้ธนาคารเป็นผู้ตรวจสอบให้
ตรวจสอบว่าเอกสารและเงื่อนไขต่างๆ ที่ระบุไว้ในใบคำขอเปิด L/C เพียงพอต่อความต้องการหรือไม่
ศึกษาข้อกำหนดของทางราชการเกี่ยวกับสินค้าที่จะนำเข้า เช่น การควบคุมการนำเข้า หรือมีอากรพิเศษหรือไม่ เป็นต้น
อย่าลืมนะครับว่าคุณจะทำการเปิด L/C กับธนาคารได้ คุณจะต้องมีหลักทรัพย์ เช่น คุณเปิด L/C มูลค่า US$1,000.- คุณก็จะต้อง
มีหลักทรัพย์มูลค่า ไม่ต่ำกว่า US$1,000.- หรือ คุณอาจจะใช้ L/C อีกหนึ่งฉบับ ที่มีชื่อคุณเป็น ผู้รับผลประโยชน์ ( Beneficiary)
มาใช้ เป็น Backup ก็ได้ครับ อย่าลืมนะครับ ธนิด าคารจะเก็บค่าธรรมเนียมในการเปิด L/C ให้กับคุณ
สรุปสิ่งที่ต้องใช้ในการเปิด L/C กับธนาคาร
1. ใบคำขอเปิด L/C
ผมได้แนบแบบฟอร์มการขอเปิด แอลซี ของธนาคารกรุงไทย ลองดู Link ครับ
2. หลักทรัพย์ของผู้ เปิด L/C
3. เอกสารประกอบการขอเปิด L/C เช่น สัญญาขาย (Sale Contract),
คำสั่งซื้อ (Purchase Order), ใบเสนอราคา (Proforma Invoice), หรือเอกสารยืนยันคำสั่งซื้อ (Order Confirmation) แล้วแต่กรณี
4. ค่าธรรมเนียมที่คุณจะต้องเสียให้ธนาคาร
0.25% ของจํานวนเงินที่เปิดต่อหนึ่งระยะเวลา 90 วัน
เศษของ 90 วันให้ถือเป็นอีกหนึ่งระยะเวลา
ขั้นต่ำ 1,000.00 บาท
ลองดูตารางตัวอย่างค่าใช้จ่ายของ ธนาคาร กสิกร ดูนะครับ
ค่าธรรมเนียมผลิตภัณฑ์ธุรกิจต่างประเทศ
Letter of Credit หรือที่นิยมเรียกกันย่อๆ ว่า L/C เป็นการชำระค่าสินค้าผ่านธนาคารวิธีหนึ่ง จริง ๆ แล้วการชำระเงินผู้ขายมีหลายวิธี
L/C เป็นวิธีที่ได้รับความนิยมมากที่สุด เพราะเป็นวิธีเดียวที่
มีหลักประกันพอที่จะเชื่อได้ว่า ผู้ขายสินค้าจะได้รับเงินค่าสินค้าเมื่อได้ส่งมอบสินค้าลงเรือ และผู้ซื้อสินค้าจะได้รับสินค้าเมื่อจ่ายเงินค่าสินค้า
หรือผู้นำเข้า ในกรณีที่ผู้นำเข้าสั่งซื้อสินค้า วัตถุดิบ หรือเครื่องจักรจากต่างประเทศโดยเลือกใช้วิธีการชำระเงินแบบ L/C โดยผู้นำเข้า
สามารถติดต่อขอใช้บริการเปิด L/C กับธนาคารได้ ซึ่งเมื่อธนาคารเปิด L/C ไปแล้ว ธนาคารจะมีภาระผูกพันที่จะต้องชำระเงินทันที
L/C at Sight ต้องจำนะครับ "L/C at Sight" เวลาได้รับ L/C ต้องหาให้เจอนะครับคำนี้ครับ
ประเภทของ L/C (L/C Terms)
ประเภทของ L/C ที่ใช้ในการซื้อขายสินค้าระหว่างประเทศมี 2 ประเภท ได้แก่
L/C ที่เพิกถอนได้ REVOCABLE LETTER OF CREDIT
L/C ประเภทนี้เมื่อธนาคารของผู้ซื้อได้เปิด L/C ออกไปให้แก่ผู้ขายในต่างประเทศแล้ว ผู้ซื้อหรือธนาคารจะแจ้งยกเลิกเสียเมื่อไรก็ได้ โดยมิต้องได้
รับความยินยอมจากผู้ขายแต่ประการใด ดังนั้นในทางปฏิบัติ L/C ชนิดนี้จึงไม่นิยมนำมาใช้ในการซื้อขายสินค้าระหว่างประเทศ
L/C ที่เพิกถอนไม่ได้ IRREVOCABLE LETTER OF CREDIT
L/C ประเภทนี้เมื่อธนาคารของผู้ซื้อได้เปิด L/C ออกไปแล้ว ทั้งธนาคารและผู้ซื้อจะทำการยกเลิกไม่ได้ รวมทั้งไม่สามารถแก้ไขหรือเปลี่ยนแปลง
ข้อความหรือเงื่อนไขต่างๆ ได้ L/C ประเภทนี้จึงเป็นประเภทที่ใช้งานได้จริงในการค้าระหว่างประเทศ L/C ที่มิได้ระบุว่าเป็น L/C
ที่เพิกถอนได้ในทางปฏิบัติจะถือว่าเป็น L/C ที่เพิกถอนไม่ได้
L/C อาจมีการ Confirm ว่า ตัว L/C จะมีการชำระเงินแน่นอน ซึ่งการ Add Confirm ทำโดย Bank ที่ สาม ซึ่งรับรองว่า L/C มีการชำระเงินแน่นอน
ชนืดของ L/C1. Fixed L/C คือ L/C ที่เปิดขึ้นมาแล้ว มีการกำหนดมูลค่าที่แน่นอนตายตัว ใช้ได้เพียงครั้งเดียวก็หมดอายุไม่สามารถนำไปใช้ได้อีก มักมีอายุน้อยกว่า 6 เดือน ซึ่งหากบริษัทใดได้รับ L/C
ประเภทนี้ต้องส่งสินค้าออก และเตรียมเอกสารไปขึ้นเงิน และเมื่อขึ้นเงินเรียบร้อยแล้ว L/Cนั้นก็หมดผลบังคับไม่สามารถนำไปใช้ได้อีก
2. Revolveing L/C คือ L/C หมุนเวียน ซึ่งสามารถใช้ได้หลายครั้ง จนกว่าจะหมดอายุโดยส่วนมากมักมีอายุมากกว่า 3 เดือน โดยหากบริษัทใดได้รับ L/Cประเภทนี้ ผู้ส่งออกสินค้าในล๊อตแรกแล้ว
ก็รวบรวมเอกสารไปขึ้นเงินกับธนาคาร และเมื่อขึ้นเงินแล้ว L/C ก็ยังสามารถใช้ได้อีก หากยังไม่หมดอายุโดนสามารถนำ L/C ฉบับเดิมมาทำการส่งออก และขึ้นเงินไปได้เรื่อยๆ จนกว่า L/C จะหมดอายุ
ซึ่งเหมาะสำหรับผู้นำเข้าวัตถุดิบเป็นประจำสม่ำเสมอ เพื่อเป็นการประหยัดเวลาและค่าใช้จ่ายที่ต้องจ่ายให้ธนาคาร แต่การส่งออกแต่ละครั้งต้องไม่กินจำนวนเงินที่ระบุใน L/C หากเงื่อนไขใน
L/Cอนุญาตให้ส่งสินค้าเป็นบางส่วนได้ แต่ผู้ซื้อควรกำหนดให้ผู้ขายว่าจะส่งออกได้กี่ครั้งต่อเดือนเพื่อป้องกันความเสียหายที่เกิดขึ้น เนื่องจากผู้ซื้อต้องเป็นผู้รับผิดชอบ
*** L/C อย่างนี้มีข้อดีก็คือรู้ Procedure แล้ว ไม่ต้อง เริ่มต้นกับ L/C ฉบับใหมครับ
3. Back to back L/C คือ L/C ที่เปิดขึ้นโดยมี L/C ฉบับแรกค้ำประกันอยู่ ซึ่ง L/C ประเภทนี้จะสังเกตได้จาก L/C เปิดมาจากประเทศหนึ่ง แต่สินค้าจะให้ส่งไปยังอีกประเทศหนึ่ง เช่น หากบริษัท ก.
(ประเทศไทย) ได้รับ L/Cสั่งซื้อสินค้าจากบริษัท ข. (ประเทศสหรัฐอเมริกา) ให้ผลิตสินค้าชนิดหนึ่ง แต่เนื่องจากสินค้าดังกล่าวนั้น บริษัท ก. ไม่สามารถผลิตได้ทัน จึงต้องไปสั่งซื้อสินค้าชนิดนี้จากอีกบริษัทหนึ่งที่เป็นพันธมิตรกัน
(ประเทศจีน) จึงนำ L/C ที่ได้รับจากบริษัท ข. ไปวางค้ำประกันสำหรับการเปิด L/C ฉบับที่ 2 นี้เพื่อสั่งซื้อสินค้า โดยบริษัท ก. ก็จะเลื่อนกำหนดเงื่อนไขใน L/C ใหม่ โดยให้บริษัทพันธมิตรในประเทศจีนนั้นส่งสินค้าตรง
ไปให้บริษัท ข. ในสหรัฐอเมริกาเลย เป็นต้น
***อันนี้พวกที่ผันตัวเป็น เอเย่นต์ มักทำกันครับ เช่น Garment ในประเทศไทย รับ L/C จากสเปน แล้วเอา เอา L/C ที่ได้รับไปเปิด L/C สั่งของที่เวียตนาม,จีน,ปากีสถาน
เวลา combine ตั๋วก็ combine ตั๋วที่ประเทศไทย ณ ครับ
แต่พวก เวียตนาม,จีน,ปากีสถาน ก็จะสามารถสืบเสาะไปยิงตรงกับผู้ซื้อที่เสปน ฝรั่งไม่โง่หรอกครับ เขาก้ยังคงซื้อกับคนที่เขาเชื่อ เครดิตอยู่ดีครับ
4. Red clause L/C คือ L/C ที่มีการกำหนดเงื่อนไข ให้ผู้รับผลประโยชน์/ผู้ส่งออก สามารถขึ้นเงินบางส่วนได้ก่อนการส่งออก เนื่องจากผู้ขายบางรายมีปัญหาเรื่องเงินทุนหมุนเวียนในกระบวนการผลิต
จึงต้องอนุมัติให้ผู้ขายสามารถขึ้นเงินได้บางส่วน และจะสามารถขึ้นเงินในส่วนที่เหลือได้ก็ต่อเมื่อมีการส่งสินค้าออกจนครบถ้วนตามเงื่อนไข L/C แล้ว
***อันนี้อย่าไปคิดว่าขาดเงินทุนหมุนเวียนครับ เวลาเซ็นต์สัญญานี่ เราลงไปในสัญญา เลยครับ ว่าเมื่อเรารับ L/C เราผู้ซื้อขอเบิกเงินล่วงหน้าเลยครับสัก 30% ที่เหลือก็ Against shipment
ทำได้ไม่ผิด UCP ครับ
5. Standby L/C คือ L/C ค้ำประกันสัญญาระหว่างคู่กรณีที่ไม่ใช่สัญชาติไทย ซึ่งการใช้ L/C ลักษณะนี้จะไม่มีการส่งมอบสินค้าซึ่งเป็นการใช้งานเพื่อเป็นการค้ำประกันให้คู่สัญญาปฏิบัติตามเงื่อนไขที่ได้ตกลงกันไว้
โดยหากฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งผิดสัญญา ผู้เสียหายก็จะเรียกร้องจากธนาคารผู้เปิด L/C ให้ขดใช้ หรือชำระเงินตามที่ L/C ค้ำประกันไว้ได้
6. Restrict L/C คือ L/C ที่กำหนดให้ผู้ส่งออกต้องขายตั๋วให้กับธนาคารที่กำหนดเท่านั้น ซึ่งหากผู้ส่งออกไปขายตั๋วให้ธนาคารอื่นจะต้องเสียค่าธรรมเนียมเพื่มเติม
**** เพราะฉนั้นเวลา เราตกลงกับลูกค้าต่างประเทศ(ผู้ซื้อ) เราต้องระบุลงไปในเอกสารสัญญาซื้อขายเลยว่า L/C ต้องเป็นแบบ Non Restrict.
ไม่เช่นนั้นเสียค่าธรรมเนียมให้ธนาคาร เสียเวลาทางเดินของเอกสารเพราะเจ้าหน้าที่ธนาคาร
ที่ทำการ nego ตั๋ว เขาต้องตรวจเอกสาร
ขอทำความเข้าใจกับบทบาทของธนาคารกับผู้รับผลประโยชน์หน่อยครับ ต้องจำครับ
Applicant - เราเรียกผู้ขอเปิด L/C กับ ธนาคารว่า Applicant
Beneficiary - คือผู้ที่รับผลประโยชน์ ที่เรียกเก็บใน L/C เป็นบุคคลที่จะได้รับการชำระเงิน
จากธนาคารที่เปิด L/C
อาจเรียกชื่อ ได้ว่า Seller, Shipper, Exporter
Issuing Bank - ธนาคารที่ได้รับการขอให้เปิด L/C จากผู้ซื้อและได้ทำการเปิด L/C
ไปยังธนาคารของผู้ขายในต่างประเทศ
Advising Bank คือธนาคารผู้แจ้ง หรือ ส่ง L/C ไปให้ผู้ขาย หรือ แจ้งให้ผู้รับประโยชน์ (ผู้ส่งออก) ทราบถึงมีการเปิด L/C
ของผู้ซื้อ Negotiating Bank คือธนาคารผู้รับซื้อตั๋ว หมายถึง ธนาคารผู้ตกลงรับซื้อตั๋วและเอกสารเพื่อการชำระเงิน
Restricted Bank หมายถึง ธนาคารสที่ผู้เปิด L/C ระบุเจาะจงให้ผู้รับประโยชน์รับเงินจากธนาคารดังกล่าวโดยเฉพาะ
โดยที่ผู้รับผลประโยชน์อาจมิได้เป็นลูกค้าของธนาคารนั้นมาก่อนก็ได้
Paying Bank/ Reimbursing Bank/ Accepting Bank หมายถึง ธนาคารที่ L/C ระบุให้เป็นผู้จ่าย
เงินตามตั๋ว หรือเป็นผู้รับรองตั๋วให้แก่ผู้รับผลประโยชน์ โดยที่ธนาคารผู้เปิด L/C จะมีหนังสือให้สิทธิ์ในการเรียกเบิกเงินคืน
( Authorization to Reimburse )แก่ธนาคารนั้นไว้ล่วงหน้า
Confirming Bank หมายถึง ธนาคารผู้เพิ่มการยืนยันว่า จะรับรองผูกพันชำระเงินตาม L/C ฉบับดังกล่าว หากธนาคาร
ผู้เปิด L/C ไม่สามารถชำระเงินตาม L/C นั้น ซึ่งผู้ขายยื่นเอกสารได้ครบถ้วน ถูกต้อง ตามข้อตกลงและเงื่อนไขที่ระบุใน L/C
อันนี้มีค่าธรรมเนียมครับ ใครจะเป็นผู้จ่ายตกลงกันให้ดีนะครับ
ข้อควรระวังในการเปิด L/C
ในการเปิด L/C ไปซื้อสินค้าจากผู้ขายในต่างประเทศ ผู้ซื้อควรปฏิบัติดังนี้
ตรวจสอบความน่าเชื่อถือของผู้ขายให้แน่ชัดเสียก่อน ซึ่งอาจกระทำได้โดยการไปเยี่ยมโรงงานของผู้ขายหรือให้ธนาคารเป็นผู้ตรวจสอบให้
ตรวจสอบว่าเอกสารและเงื่อนไขต่างๆ ที่ระบุไว้ในใบคำขอเปิด L/C เพียงพอต่อความต้องการหรือไม่
ศึกษาข้อกำหนดของทางราชการเกี่ยวกับสินค้าที่จะนำเข้า เช่น การควบคุมการนำเข้า หรือมีอากรพิเศษหรือไม่ เป็นต้น
อย่าลืมนะครับว่าคุณจะทำการเปิด L/C กับธนาคารได้ คุณจะต้องมีหลักทรัพย์ เช่น คุณเปิด L/C มูลค่า US$1,000.- คุณก็จะต้อง
มีหลักทรัพย์มูลค่า ไม่ต่ำกว่า US$1,000.- หรือ คุณอาจจะใช้ L/C อีกหนึ่งฉบับ ที่มีชื่อคุณเป็น ผู้รับผลประโยชน์ ( Beneficiary)
มาใช้ เป็น Backup ก็ได้ครับ อย่าลืมนะครับ ธนิด าคารจะเก็บค่าธรรมเนียมในการเปิด L/C ให้กับคุณ
สรุปสิ่งที่ต้องใช้ในการเปิด L/C กับธนาคาร
1. ใบคำขอเปิด L/C
ผมได้แนบแบบฟอร์มการขอเปิด แอลซี ของธนาคารกรุงไทย ลองดู Link ครับ
2. หลักทรัพย์ของผู้ เปิด L/C
3. เอกสารประกอบการขอเปิด L/C เช่น สัญญาขาย (Sale Contract),
คำสั่งซื้อ (Purchase Order), ใบเสนอราคา (Proforma Invoice), หรือเอกสารยืนยันคำสั่งซื้อ (Order Confirmation) แล้วแต่กรณี
4. ค่าธรรมเนียมที่คุณจะต้องเสียให้ธนาคาร
0.25% ของจํานวนเงินที่เปิดต่อหนึ่งระยะเวลา 90 วัน
เศษของ 90 วันให้ถือเป็นอีกหนึ่งระยะเวลา
ขั้นต่ำ 1,000.00 บาท
ลองดูตารางตัวอย่างค่าใช้จ่ายของ ธนาคาร กสิกร ดูนะครับ
ค่าธรรมเนียมผลิตภัณฑ์ธุรกิจต่างประเทศ
ประเภทบริการ
|
ค่าธรรมเนียม
|
ผลิตภัณฑ์ด้านการนำเข้า(IMPORT) | |
ผลิตภัณฑ์เลตเตอร์ออฟเครดิตด้านการนำเข้า (IMPORT LETTER OF CREDIT) | |
ค่าธรรมเนียมในการเปิดเลตเตอร์ออฟเครดิต | 0.25% ของจํานวนเงินที่เปิดต่อหนึ่งระยะเวลา 90 วัน เศษของ 90 วันให้ถือเป็นอีกหนึ่งระยะเวลา ขั้นต่ำ 1,000.00 บาท |
ค่าธรรมเนียมในการแก้ไขเลตเตอร์ออฟเครดิต | |
ในกรณีที่เพิ่มจํานวนเงิน และ/หรือต่ออายุ | 0.25% ของจํานวนเงินที่เพิ่ม และ/หรือระยะเวลาที่ต่ออายุ ต่อหนึ่งระยะเวลา 90 วัน เศษของ 90 วัน ให้ถือเป็นอีกหนึ่งระยะเวลา ขั้นต่ำ 1,000.00 บาท |
ในกรณีอื่น ๆ | 500.00 บาท |
กรณีเอกสารที่ธนาคารได้รับจากธนาคารที่รับเรียก เก็บเงินแจ้งข้อผิดพลาดของเอกสาร (DISCREPANCY) |
|
จํานวนเงินเกินกว่ายอดที่เปิดเลตเตอร์ออฟเครดิต (L/C OVERDRAWN) |
0.25% ของจํานวนเงินที่เกินกว่ายอดที่เปิดเลตเตอร์ออฟเครดิต ต่ำกว่า 500.00 บาท ไม่เก็บค่าธรรมเนียม (WAIVE) ตั้งแต่ 500.00 บาทขึ้นไป เรียกเก็บตามจริง ขั้นต่ำ 1,000.00 บาท |
เลตเตอร์ออฟเครดิตหมดอายุ (L/C EXPIRE) | 0.125% ของจำนวนเงินตามหน้าตั๋ว ขั้นต่ำ 1,000.00 บาท |
จํานวนเงินเกินกว่ายอดที่เปิดเลตเตอร์ออฟเครดิตและเลตเตอร์ออฟเครดิตหมดอายุ (L/C OVERDRAWN & L/C EXPIRE) | 0.125% ของจำนวนเงินตามหน้าตั๋ว ขั้นต่ำ 1,000.00 บาท |
ข้อผิดพลาดของเอกสารกรณีอื่น ๆ (DISCREPANCY FEE) | คิด USD 50.00 ต่อฉบับ |
ค่าธรรมเนียมในการรับรองการชําระเงินสําหรับตั๋วเงินที่มีระยะเวลา ตามเลตเตอร์ออฟเครดิต (ENGAGEMENT FEE) |
2.5% ต่อปีของจํานวนเงินตามหน้าตั๋ว เรียกเก็บเมื่อลูกค้าขอรับเอกสาร ขั้นต่ำ 1,000.00 บาท |
ค่าธรรมเนียมสําหรับเอกสารที่ไม่มีการชําระเงิน (DISHONOURED BILLS FEE) |
คิด USD 100.00 ต่อฉบับ |
ค่าติดติอสื่อสาร (COMMUNICATION CHARGE) | |
ค่า TELEX / SWIFT ในการเปิดเลตเตอร์ออฟเครดิต | http://bangkokmotorparts.com |
UCP
UCP
L/C
Bill of Exchange
Bill of Lading รายละเอียดเพิ่มเติม
"ICC" มาจากคำว่า International Chamber of Commerce’ภาษาไทยเป็นที่รู้จักกันคือ หอการค้าระหว่างประเทศ
"UCP" มาจากคำว่า Uniform Customs and Practice for Documentary Credits ภาษาไทยยังคงใช้ทับศัพท์คือ UCP
ทำไมต้องรู้จัก UCP ?
เพราะว่ามันใช้เป็นสื่อกลางสำหรับประกอบการทำธุรกรรมการค้าระหว่างธนาคารในประเทศและต่างประเทศ
UCP 600 เป็นเวอร์ชั่นล่าสุดของกฎระเบียบที่ควบคุมตัวอักษรในการทำธุรกรรม
เครดิตทั่วโลก UCP 600 จัดทำโดยสภาหอการค้าพาณิชย์ (ICC)ของแต่ละประเทศ บน
พื้นฐานและข้อปฏิบัติของธนาคาร โดยมีชื่อเต็มของมันคือ
"Revision of Uniform Customs and Practice for
Documentary Credits, UCP 600."
หอการค้าระหว่างประเทศได้รับรอง เวอร์ชั่นล่าสุดของ UCP คือ
UCP 600 ณ. วันที่ 25 ตุลาคม 2006.
ซึ่งมีผลปฏิบัติตั้งแต่ 1 กรกฎาคม 2007.
ซึ่งรายละเอียดในมาตรตราต่างๆใน UCP 600 ให้หาอ่านได้เป็นภาษาไทย โดยท่านสามารถสอบถามเวอร์ชั่นที่แปรเป็นภาษาไทย
ได้จากธนาคารที่ท่านทำธุรกรรมฝ่ายต่างประเทศอยู่ครับ
ในครั้งต่อไปจะนำมาตตราต่างๆ ใน UCP มาคุยกัน สำหรับผู้ที่มีประสพการณ์ที่ต้องการถ่ายทอดความรู้ที่ท่านมีอยู่ก็ให้ Post แสดง
ความคิดเห็นได้เลยครับ
"ICC" มาจากคำว่า International Chamber of Commerce’ภาษาไทยเป็นที่รู้จักกันคือ หอการค้าระหว่างประเทศ
"UCP" มาจากคำว่า Uniform Customs and Practice for Documentary Credits ภาษาไทยยังคงใช้ทับศัพท์คือ UCP
ทำไมต้องรู้จัก UCP ?
เพราะว่ามันใช้เป็นสื่อกลางสำหรับประกอบการทำธุรกรรมการค้าระหว่างธนาคารในประเทศและต่างประเทศ
UCP 600 เป็นเวอร์ชั่นล่าสุดของกฎระเบียบที่ควบคุมตัวอักษรในการทำธุรกรรม
เครดิตทั่วโลก UCP 600 จัดทำโดยสภาหอการค้าพาณิชย์ (ICC)ของแต่ละประเทศ บน
พื้นฐานและข้อปฏิบัติของธนาคาร โดยมีชื่อเต็มของมันคือ
"Revision of Uniform Customs and Practice for
Documentary Credits, UCP 600."
หอการค้าระหว่างประเทศได้รับรอง เวอร์ชั่นล่าสุดของ UCP คือ
UCP 600 ณ. วันที่ 25 ตุลาคม 2006.
ซึ่งมีผลปฏิบัติตั้งแต่ 1 กรกฎาคม 2007.
ซึ่งรายละเอียดในมาตรตราต่างๆใน UCP 600 ให้หาอ่านได้เป็นภาษาไทย โดยท่านสามารถสอบถามเวอร์ชั่นที่แปรเป็นภาษาไทย
ได้จากธนาคารที่ท่านทำธุรกรรมฝ่ายต่างประเทศอยู่ครับ
ในครั้งต่อไปจะนำมาตตราต่างๆ ใน UCP มาคุยกัน สำหรับผู้ที่มีประสพการณ์ที่ต้องการถ่ายทอดความรู้ที่ท่านมีอยู่ก็ให้ Post แสดง
ความคิดเห็นได้เลยครับ
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)